อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกโบราณได้แก่อารยธรรมของนครรัฐกรีกซึ่งเจริญขึ้นบนผืนแผ่นดินกรีซในทวีปยุโรปและบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านเอเชียไมเนอร์ซึ่งในสมัยโบราณเรียกว่าไอโอเนีย(Ionia)อารยธรรมที่เจริญขึ้นในนครรัฐกรีกมีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่นครรัฐเอเธนส์และนครรัฐสปาร์ตานครรัฐเอเธนส์เป็นแหล่งความเจริญในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านการปกครองเศรษฐกิจสังคมศิลปะวิทยาการรวมทั้งปรัชญาส่วนนครรัฐสปาร์ตาเจริญในลักษณะที่เป็นรัฐทหารในรูปเผด็จการมีความแข็งแกร่งเกรียงไกรเป็นผู้นำของนครรัฐอื่นๆกล้าหาญและเด็ดเดี่ยวในด้านการรบการศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมกรีกโบราณส่วนใหญ่จึงเป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับนครรัฐเอเธนส์และนครรัฐสปาร์ตาชาวกรีกโบราณเป็นชาวอินโด-ยูโรเปียนเรียกตัวเองว่าเฮลีนส์เรียกบ้านเมืองของตนเองว่าเฮลัสและเรียกอารยธรรมของตนเองว่าเฮเลนิคชาวกรีกตั้งบ้านเรือนของตนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตรงปลายสุดของทวีปยุโรปตรงตำแหน่งที่มาบรรจบกันของทวีปยุโรปเอเชียและแอฟริกาเป็นต้นเหตุให้กรีซโบราณได้รับอิทธิพลความเจริญโดยตรงจากทั้งอียิปต์และ เอเชียกรีซได้อาศัยอิทธิพลดังกล่าวพัฒนาอารยธรรมของตนขึ้นโดยคงไว้ซึ่งลักษณะที่เป็นของตัวเอง
พื้นฐานอารยธรรมกรีก
1.กรีกเป็นพวกอินโด-ยูโรเปียนกลุ่มหนึ่งอพยพเข้าสู่ดินแดนกรีกแล้วรับความเจริญจากวัฒนธรรมไมนวน(Minoan Culture)บนเกาะครีตรวมทั้งวัฒนธรรมของเอเชียไมเนอร์และวัฒนธรรมอียิปต์มา
ผสมผสานจนเป็นอารยธรรมของตนเอง
ผสมผสานจนเป็นอารยธรรมของตนเอง
2.ชาวกรีกเรียกตัวเองว่าเฮลลีน(Hellene)เรียกบ้านเมืองตัวเองว่าเฮลลัส(Hellas)และเรียกอารยธรรมของตนเองว่าเฮเลนิก(Hellenic Civilzation)
3.อุปนิสัย โดยทั่วไปของคนกรีกคืออยากรู้อยากเห็นเชื่อมั่นในเหตุผลชอบเสรีภาพและความ
เป็นปัจเจกชนนอกจากนี้กรีกยังเป็นพวกนิยมความเป็นธรรมชาติ
เป็นปัจเจกชนนอกจากนี้กรีกยังเป็นพวกนิยมความเป็นธรรมชาติ
4.กรีกมีภูมิประเทศเป็นภูเขาทำให้ต้องแบ่งการปกครองออกเป็นนครรัฐแต่ละนครรัฐอิสระจากกันศูนย์กลางนครรัฐอยู่ที่“อะโครโปลิส”
ยุคของอารยธรรมกรีก
ยุคโบราณ
ในยุคสำริด3,000-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นยุคที่อารยธรรมชนเผ่าไซแคลดิกและไมซีแนเอียนกำลังมีอิทธิพลรุ่งเรืองอยู่ในกรีซแต่พอถึงศตวรรษที่11ก่อนคริสตกาลอิทธิพลของวัฒนธรรมไซแคลดิกและไมซีแนเอียนก็ถึงกาลเสื่อมสลายลงเพราะถูกรุกรานโดยนักรบเผ่าดอเรียนที่รุกมาจากทางเหนืออารยธรรมต่างๆในกรีซจึงเริ่มเข้าสู่ยุคมืดช่วงเวลา800ปีก่อนคริสตกาลเป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมกรีซเฟื่องฟูขึ้นมาอีกครั้งวัฒนธรรมและกิจการทหารของกรีซเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดเมืองเอเธนส์ลัสปาต้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจมหาอาณาจักรกรีซประกอบด้วยอิตาลีทางตอนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่กรีซย่างก้าวเข้าสู่ยุคคลาสสิกหรือยุคทองในยุคนี้เองนักปราชญ์ชื่อเพเรอคลิสผู้ทำให้วิหารพาร์เธนอนเป็นที่รู้จักของชาวโลก
โซโฟคลิสได้เขียนมหากาพย์อีดิปุสขึ้นและโสคราติสหรือซาเครอทิสได้เริ่มการสอนลูกศิษย์ชาวเอเธนส์ให้รู้จักวิชาตรรกวิทยาและหลักการของประชาธิปไตยต่อมาไม่นานนักยุคทองของกรีซก็ถึงจุดเสื่อมแล้วกรีซก็เข้าสู่ยุคสงครามเปลโอปอนนีเซียนซึ่งกองทหารอันเกรียงไกรของสปาร์ตาได้ยกกำลังเข้าบดขยี้ชาวเอเธนส์เสียจนย่อยยับ
โซโฟคลิสได้เขียนมหากาพย์อีดิปุสขึ้นและโสคราติสหรือซาเครอทิสได้เริ่มการสอนลูกศิษย์ชาวเอเธนส์ให้รู้จักวิชาตรรกวิทยาและหลักการของประชาธิปไตยต่อมาไม่นานนักยุคทองของกรีซก็ถึงจุดเสื่อมแล้วกรีซก็เข้าสู่ยุคสงครามเปลโอปอนนีเซียนซึ่งกองทหารอันเกรียงไกรของสปาร์ตาได้ยกกำลังเข้าบดขยี้ชาวเอเธนส์เสียจนย่อยยับ
ในขณะที่สปาร์ตากำลังรุกรานกรีซอย่างย่ามใจทางตอนเหนือพระเจ้าฟิลิปแห่งอาณาจักรมาซิโดเนียกำลังไล่ตีเมืองเล็กเมืองน้อยรุกคืบเข้ามาใกล้กรีซทุกทีแต่ทว่าความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้พิชิตในภูมิภาคนี้ของพระเจ้าฟิลิปก็ถูกบดบังรัศมีโดยโอรสของพระองค์เองคือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชผู้สามารถยาตราทัพไปถึงเอเชียไมเนอร์และอียิปต์ซึ่งที่อียิปต์นี้เองพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นฟาโรห์ผู้สร้างเมืองอเล็กซานเดรียพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยกทัพไปถึงเปอร์เซียและดินแดนส่วนที่เป็นอินเดียและอัฟกานิสถานในปัจจุบันในรัชสมัยของอาณาจักรมาซิโดเนียเรียกกันว่ายุคเฮลเลนิสติก(Hellenistic Period)เพราะยุคนี้มีการผสมผสานปรัชญาและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองของชนชั้นปกครองจนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบใหม่ที่ศิวิไลซ์ยิ่งขึ้นหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ33ปีแล้วมีกษัตริย์ปกครองกรีซสืบต่อมาอีก3รัชกาล
ครั้นถึงปีที่205ก่อนคริสต์ศักราชอิทธิพลของโรมันแผ่ขยายเข้ารุกรานกรีซและเมื่อถึงปี146 ก่อนคริสตกาลกรีซกับมาซิโดเนียตกอยู่ใต้การปกครองของโรมันหลังจากที่มีการแบ่งอาณาจักรโรมันเป็นอาณาจักรตะวันออกและตะวันตกกรีซได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนไทน์
และเมื่อเกิดสงครามครูเสดขึ้นอิทธิพลของอาณาจักรไบแซนไทน์ก็เสื่อมถอยเพราะถูกรุกรานโดยชาวเวนิส คาตาลัน เจนัว
แฟรงก์ และนอร์มัน
และเมื่อเกิดสงครามครูเสดขึ้นอิทธิพลของอาณาจักรไบแซนไทน์ก็เสื่อมถอยเพราะถูกรุกรานโดยชาวเวนิส คาตาลัน เจนัว
แฟรงก์ และนอร์มัน
ยุคกลาง
ในปีพ.ศ.1996(ค.ศ.1453)กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกพวกเติร์กยึดครองและเมื่อถึงปีพ.ศ.2043(ค.ศ.1500)ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์กดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลกเพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีกออร์ทอดอกซ์ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์กกรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิดนักเขียนและนักปรัชญาเช่นไบรอน แชลเลย์ และเกอเธอย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซทำให้ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษตัดสินใจเข้ามาแทรกแซงหลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้วกลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่งบาวาเรียเป็นกษัตริย์ปกครองกรีซในปีพ.ศ.2376(ค.ศ.1833)หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกันจนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่1จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซในปีพ.ศ.2407(ค.ศ.1864)ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
ยุคใหม่
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่1กองทัพกรีซอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตรและเข้ายึดครองเมืองเทรซ เมื่อสงครามโลกยุติกรีซได้ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยปลดปล่อยเมืองสเมอร์นาของตุรกี(ปัจจุบันคืออิซมีร์)ให้ได้รับอิสรภาพเพราะเมืองนี้มีประชาชนชาวกรีกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกองกำลังกรีกถูกต่อต้านอย่างแข็งแกร่งจากกองทัพของอตาเติร์กซึ่งได้เข่นฆ่าชาวกรีกในเมืองนั้นเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมากผลของสงครามนี้ทำให้มีการตกลงแลกเปลี่ยนพลเมืองของ2ประเทศกันในปีพ.ศ. 2466(ค.ศ.1923)ประชากรกรีกเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะมีผู้อพยพชาวคริสเตียนมาอยู่ในกรีซมากถึง1,300,000คนทำให้กรีซมีปัญหาด้านเศรษฐกิจตามมาคนเหล่านี้กระจายกันไปอยู่นอกเมืองภายหลังมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานต่างๆขึ้นในกลุ่มพวกอพยพที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองรอบนอกและในปีพ.ศ.2479(ค.ศ. 1936)พรรคคอมมิวนิสต์ในกรีซก็เติบโตและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจากการสนับสนุนของประชาชนทั่วประเทศ
ปีพ.ศ.2479(ค.ศ. 1936)นายพลเมเตอซัสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีเขาเป็นผู้ปกครองประเทศที่นิยมการปกครองแบบเผด็จการถึงแม้ว่าจะได้เห็นความเป็นไปในชะตากรรมของพวกนาซีแต่ตัวเขาเองกลับกระทำการต่างๆที่ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเป็นภาพจำลองของอาณาจักรไรน์ในกรีซนายพลเมเตอซัสทำการต่อต้านไม่ยอมให้เยอรมนีกับอิตาลีเดินทัพผ่านกรีซ
ถึงแม้ว่ากลุ่มสัมพันธมิตรจะเข้าช่วยกรีซแต่กรีซก็ต้องตกเป็นของเยอรมนีในปีพ.ศ.2484(ค.ศ.1941)เป็นผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้นมีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์เป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดขึ้นในกรีซและยุติลงในพ.ศ.2492(ค.ศ.1949)โดยฝ่ายนิยมกษัตริย์อ้างชัยชนะ
ถึงแม้ว่ากลุ่มสัมพันธมิตรจะเข้าช่วยกรีซแต่กรีซก็ต้องตกเป็นของเยอรมนีในปีพ.ศ.2484(ค.ศ.1941)เป็นผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้นมีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์เป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดขึ้นในกรีซและยุติลงในพ.ศ.2492(ค.ศ.1949)โดยฝ่ายนิยมกษัตริย์อ้างชัยชนะ
ในช่วงเวลานั้นอเมริกากำลังเคร่งครัดในลัทธิทรูแมนรัฐบาลอเมริกาในขณะนั้นมีนโยบายให้เงินก้อนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลที่ต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์แต่ความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์จะครองเมืองทำให้คณะทหารของกรีซทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลเมื่อปีพ.ศ.2510(ค.ศ.1967)
กล่าวกันว่าการปฏิวัติในกรีซเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของหน่วยงานCIAของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาปฏิบัติการในทวีปยุโรปกลุ่มทหารที่ครองอำนาจในกรัซทำตนมีอำนาจเหนือ
ราษฎรและทำการกดขี่ข่มเหงประชาชนยิ่งกว่านั้นคณะนายพลของทหารกรีซได้ทำการวางแผนลอบสังหารผู้นำของไซปรัสในขณะนั้นเป็นผลให้ตุรกีฉวยโอกาสเข้ารุกเข้ายึดครองตอนเหนือของไซปรัสทำให้เหตุการณ์นี้เป็นข้อบาดหมางระหว่างกรีซกับตุรกีมาจนถึงทุกวันนี้
กล่าวกันว่าการปฏิวัติในกรีซเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของหน่วยงานCIAของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาปฏิบัติการในทวีปยุโรปกลุ่มทหารที่ครองอำนาจในกรัซทำตนมีอำนาจเหนือ
ราษฎรและทำการกดขี่ข่มเหงประชาชนยิ่งกว่านั้นคณะนายพลของทหารกรีซได้ทำการวางแผนลอบสังหารผู้นำของไซปรัสในขณะนั้นเป็นผลให้ตุรกีฉวยโอกาสเข้ารุกเข้ายึดครองตอนเหนือของไซปรัสทำให้เหตุการณ์นี้เป็นข้อบาดหมางระหว่างกรีซกับตุรกีมาจนถึงทุกวันนี้
ในปีพ.ศ.2524(ค.ศ. 1981)กรีซเข้าเป็นสมาชิกสมาคมสหภาพยุโรปพรรคสังคมนิยมPASOKนำโดยนายแอนเดรียส์ปาปันเดรโอชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลให้สัญญาว่าจะจัดการให้อเมริกาย้ายฐานทัพอากาศออกไปจากกรีซและกรีซจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของนาโตแต่รัฐบาลทำไม่สำเร็จสตรีชาวกรีซเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงประเพณีเรื่องสินสอดและเรียกร้องให้กฎหมายสนับสนุนการทำแท้งเสรีความไม่สงบในประเทศทำให้ปาปันเดรโอกับรัฐบาลของเขาเสียอำนาจการปกครองประเทศให้กับรัฐบาลผสมระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในปีพ.ศ.2532(ค.ศ. 1989)การเลือกตั้งในกรีซเมื่อพ.ศ.2533(ค.ศ.1990)พรรคอนุรักษ์นิยมได้ที่นั่งมากที่สุดและได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศแต่ไม่สำเร็จการเลือกตั้งใหม่ในพ.ศ.2536(ค.ศ.1993)กรีซได้ปาปันเดรโอผู้นำเฒ่าของพรรคเสรีนิยมกลับมาครองอำนาจกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งท่านผู้นำถึงแก่อนิจกรรมในพ.ศ.2539(ค.ศ.1996)หลังจากที่ท่านลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองกรีซได้ผู้นำคนใหม่ชื่อคอสทาสสมิทิสต่อมากรีซกับตุรกีขัดแย้งกันอย่างหนักจนใกล้จะระเบิดสงครามเมื่อผู้สื่อข่าวของตุรกีได้นำธงชาติกรีซมาย่ำยีเล่นสมิทิสได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกรีซอีกครั้งรัฐบาลใหม่ให้สัญญากับประชาชนว่าจะเร่งการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอียูนายกรัฐมนตรีเป็นเพื่อนร่วมชั้นกับรัฐมนตรีโทนีแบลร์ของอังกฤษตั้งแต่สมิทิสมีอำนาจในการบริหารประเทศเขามีนโยบายเห็นด้วยกับกลุ่มฝ่ายค้านพรรคประชาธิปไตยใหม่แทบทุกเรื่อง
3. อารยธรรมเริ่มต้นของอารยธรรมกรีก
3.1 อารยธรรมไมนวน (Minoan Civilization)
เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นที่เกาะครีต โดยมีชาวครีตหรือชาวครีตันเป็นชนพื้นเมืองของเกาะนี้ กษัตริย์ที่มีอำนาจมากที่สุด คือ พระเจ้ามินอส พระราชวังที่สำคัญ คือ พระราชวังคนอสซุส
พระราชวังคนอซุส พระราชวังของกษัตริย์ไมโนน
ภาพเฟรสโกภายในพระราชวัง (ภาพที่ลงสีขณะปูนยังเปียกอยู่)
ภาพแสดงวิถีชีวิของชาวไมโนน
ความเสื่อมของอารยธรรมไมโนน
1) เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟที่ทำลายเมือง
2) การรุกรานของพวกไมซินีจากแผ่นดินใหญ่
3.2 อารยธรรมไมซินี (Mycenae Civilization)
เป็นอารยธรรมของพวกไมซีเนียน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนบนคาบสมทรเพโลพอนนีซัส โดย บรรพบุรุษของชาวไมซีเนียน คือ พวกเอเคียน มีความสามารถในการรบและการค้า ซึ่งพวกนี้โจมตีเกาะครีต ทำลายพระราชคนอสซุส และได้สร้างเมืองไมซีเนขึ้น ซึ่งมีป้อมปราการที่แข็งแรง ทำให้พวกเอเคียนมีชื่อใหม่ว่าไมซีเนียนตามชื่อเมือง ต่อมาพวกเอเคียนได้ไปทำสงครามกับเมืองทรอยในสงครามโทจัน เนื่องจากเมืองทรอยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับเมืองไมซีเนจนสำเร็จ
มรดกของอารยธรรมไมซีเน คือ การนับถือเทพเจ้าหลายองค์รวมทั้งเทพเจ้าซุส (Zeus) เฮรา (Hera) และโพไซดอน เป็นต้น
ความเสื่อมของอารยธรรมไมซีเน คือถูกพวกดอเรียนซึ่งเป็นชาวกรีกเผ่าหนึ่งเข้ามารุกรานจนทำให้ความเจริญหยุดลงชั่วขณะ
แผนที่แสดงที่ตั้งของอารยธรรมไมซีนี
4. กรีกยุคมืด
เนื่องจากการขาดหลักฐานการเขียนทำให้ความรู้ของเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ถูกจำกัด โดยสงครามเป็นเหตุให้เศรษฐกิจกรีกพินาศ ซึ่งสร้างความยากจนและสับสน ทางการเมืองซึ่งยาวนาน กษัตริย์ไมซีเนียนถูกแทนที่ด้วยหัวหน้าเล็ก ๆ ผู้มีอำนาจและทรัพย์สินจำกัด ศิลปินหยุดการวาดคนและสัตว์บนหม้อไห กรีกเพาะปลูกในพื้นดินน้อยนิด มีคนมาตั้งถิ่นฐานน้อย และการค้าสากลน้อยกว่าที่เคยมีมาก่อน ซึ่งเรื่องราวต่าง ๆ ของกรีกยุคมืดปรากฏอยู่ในวรรณกรรมมุขปาฐะ เรื่องมหากาพย์อิเลียด และโอดิสซี ของมหากวีโฮเมอร์ (Homer) ซึ่งมหากาพย์อิเลียดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำสงครามกับทรอย ส่วนมหากาพย์โอดิสซีเป็นเรื่องเกี่ยวกับชัยชนะจากการทำสงครามกับทรอย
5. อารยธรรมของกรีก
อารยธรรมกรีกประกอบด้วย อารยธรรมเฮเลนิก และอารยธรรมเฮเลนิสติค
5.1 อารยธรรมเฮเลนิก (Hellenic Civilization) หรือยุคคลาสสิก (Classical Age)
ในสมัยนี้มีการสร้างอาณานิคมเกิดขึ้น มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและผู้นำชุมชนเริ่มตั้งสภาและกลุ่มต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมสาธารณะที่อกอรา ซึ่งเป็นที่พบปะสังสรรค์กันของผู้คนในนครรัฐ ซึ่งยุคคลาสสิคนี้ได้เกิดนครรัฐขนาดใหญ่ 2 นครรัฐ ได้แก่ นครรัฐสปาร์ตา และนครรัฐเอเธนส์
5.1.1 นครรัฐสปาร์ตา
ชาวสปาร์ตาเป็นชาตินักรบ เนื่องจากต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ครอบครองลาโคเนียและเมอซีเนีย และเพื่อป้องกันการกบฏของลาโคเนียและเมอซีเนีย ชาว สปาร์ตาจึงต้องสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง จรทำให้ชาวสปาร์ตากลายเป็นชาตินักรบ มีการปกครองแบบคณาธิปไตย และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของชาว สปาร์ตาไม่มีท่าเรือที่ดี และตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวขนาบด้วยภูเขาจึงทำให้ชาวสปาร์ตาขาดการติดต่อจากโลกภายนอก และยังเป็นผลให้สปาร์ตาเป็นรัฐที่มีความสามารถในการรบอีกด้วย
5.1.2 นครรัฐเอเธนส์
เนื่องจากชาวเอเธนส์อพยพแบบค่อยเป็นค่อยไปเข้ามาในคาบสมุทรกรีก และสภาพภูมิประเทศของชาวเอเธนส์มั่งคั่งด้วยแร่ธาตุและท่าเรือที่ดี จึงทำให้มีพัฒนาการทางด้านการค้าและมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรม จึงทำให้นครรัฐแห่งนี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ทำให้ชาวเอเธนส์เป็นนักประชาธิปไตย และรักความก้าวหน้า
ในยุคคลลาสสิคนี้เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ 2 ครั้ง ได้แก่ สงครามเปอร์เซียและสงครามเพโลพอนเนเชียน
1) สงครามเปอร์เซีย
สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งระหว่างเอเธนส์กับเปอร์เซีย เพราะเปอร์เซียขยายอำนาจเข้ามาในเอเชียไมเนอร์ ผลของสงคราม คือ เอเธนส์ชนะเปอร์เซีย
2) สงครามเพโลพอนเนเชียน
ชาวกรีกเกิดความคิดในการเตรียมการป้องกันชาวเปอร์เซีย นครรัฐต่างๆ ของกรีกจึงต่างเข้ามาเป็นสมาชิก และสมาชิกแต่ละนครรัฐมีสิทธิเท่าเทียม ทำให้นครรัฐกรีกร่วมกันตั้งสหพันธ์แห่งเกาะเดลอส สหพันธรัฐใช้เป็นศูนย์กลางและเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติ แต่ในความเป็นจริงแล้วนครรัฐเอเธนส์มีอิทธิพลในการเป็นผู้นำ ต่อมาสหพันธรัฐเปลี่ยนสภาพเป็นจักรวรรดิของเอเธนส์ เอเธนส์ใช้เงินเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ลดฐานะสมาชิกอื่น ๆ ให้อยู่ในฐานะบริวาร และห้ามไม่ให้รัฐสมาชิกแยกตัวออกจากสหพันธ์ เมื่อรัฐใดก่อกบฏก็จะใช้กำลังปราบโดยยึดกองทหารเรือและเก็บเครื่องราชบรรณาการ วิธีนี้ทำให้นครรัฐสปาร์ตากลัวว่า เอเธนส์จะเป็นผู้นำกรีกทั้งหมด และเนื่องจากสภาพสังคมของทั้ง 2 รัฐแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดสงครามขึ้น ผลของสงคราม คือ นครรัฐสปาร์ตาชนะ ทำให้นครรัฐสปาร์ตาได้เอเธนส์ไว้ในอำนาจ และนำระบอบการปกครองแบบคณาธิปไตยมาใช้ แต่การปกครองของสปาร์ตาไม่มั่นคงจึงทำให้นครรัฐสปาร์ตาพ่ายแพ้ต่อกองทัพของนครธีบีสและเอเธนส์ ในที่สุดกรีกทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมาซิโดเนีย
5.2 อารยธรรมเฮเลนิสติก
เป็นช่วงที่นครรัฐต่างๆ ของกรีกเสื่อมลง เนื่องมาจากสงครามเพโลพอนเนเชียน และแคว้นมาซิโดเนียเจริญขึ้น โดยแคว้นมาซิโดเนียมีกษัตริย์องค์สำคัญ ได้แก่ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ได้นครรัฐกรีกไว้ในอำนาจ และกษัตริย์องค์ต่อมา คือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้ทำการปลดปล่อยหัวเมืองกรีกต่างๆ บนเอเชียไมเนอร์ให้พ้นจากการปกครองเปอร์เซีย
6. มรดกทางอารยธรรมกรีก
6.1 สถาปัตยกรรม ใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการสร้างเสารายรอบอาคาร ซึ่งจะมีความแตกต่างตรงหัวเสา สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบดอริก (Doric) แบบไอโอนิก (Ionic) และแบบคอรินเธียน (Corinthian) และส่วนใหญ่ยังนิยมก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร วิหารที่มีชื่อเสียง สร้างบนภูเขาที่มีชื่อเรียกว่า อะครอโพลิส (Acropolis) คือ วิหารพาร์เธนอน สร้างเพื่อถวายแด่เทพีอะธีนา (Athena)
6.2 ประติมากรรม ส่วนใหญ่เป็นรูปปั้นเทพเจ้าที่มีลายเส้นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคล้ายมนุษย์ที่มีชีวิต ดูเป็นธรรมชาติ
6.3 จิตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่ปรากฏบนเครื่องปั้นดินเผา เช่น แจกัน คนโท ไห ฯลฯ และฝาผนังที่พบในวิหารหรือกำแพง
6.4 นาฏกรรม ละครประเภทโศกนาฏกรรม (Tragedy) และสุขนาฏกรรม (Comedy) การแสดงจะใช้นักแสดงชายทั้งหมด โดยทุกคนจะสวมหน้ากาก และมีผู้พากย์และหมู่นักร้อง (Chorus) ส่งเสียงประกอบ
6.5 วรรณกรรม วรรณกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ มหากาพย์ของโฮเมอร์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซี ที่สะท้อนถึงความรู้สึกที่กวีมีต่อโศกนาฏกรรมในสงครามทรอย (Troy) นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่ที่สำคัญ ประเพณี วิถีชีวิต และความคิดของชาวกรีกด้วย
6.6 ปรัชญา
6.6.1 โซเครติส (Socrates) เกิดที่เธนส์ เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ วิธีสอนของเขาเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้นการท่องจำแต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ แต่ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง แม้โซเครติสมีลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่มีผลงานเขียนของตนเอง ดังนั้นปรัชญา และทฤษฎีของเขาที่รู้จักจึงเป็นผลงานที่ถ่ายทอดโดยลูกศิษย์ของเขา
6.6.2 เพลโต (Plato) เป็นศิษย์เอกของโซเครติส เป็นผู้รวบรวมหลักคำสอนของโซเครติส เรียกว่า Dialogue และเป็นผู้ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซเครติสให้ชาวโลกได้รับรู้ เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ “อะคาเดมี” (Academy) และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม ผลงานที่โดเด่นจนทำให้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก
6.6.3 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นศิษย์ของเพลโตและเคยเป็นอาจารย์ของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช อริสโตเติลเป็นทั้งนักปราชญ์และนักวิจัย ซึ่งนอกจากปรัชญาทางการเมืองแล้ว เขายังสนใจวิทยาการใหม่ๆด้วย เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ หลักตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริยศาสตร์ ฯลฯ ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics)
6.7 ประวัติศาสตร์ เป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่เริ่มเขียนงาน ประวัติศาสตร์และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก คือ เฮโรโดตัส (Herodotus) นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) ซึ่งมีงานเขียน คือ The Peloponnesian War ซึ่งเป็นงานเขียนบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการของนักวิชาการเป็นครั้งแรก
6.8 คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์เด่นของกรีก ได้แก่ ปิทาโกรัสแห่งเมืองซามอส ผู้คิดค้นทฤษีบทปิทาโกรัส ยูคลิดแห่งเมืองอะเล็กซานเดรีย ผู้คิดเรขาคณิตแบบยูคลิด และเขียนหนังสือชุด Elements ซึ่งมีจำนวน 13 เล่ม เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงเรขาคณิตระนาบและเรื่องสัดส่วน อาร์คิมีดีสแห่งเซียราคิวส์ เป็นผู้คิดระหัดวิดน้ำแบบเกลียวลูกกรอกชุด ตั้งกฎของคานดีดคานงัด และพบวิธีการหาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ
6.9 การแพทย์ ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการแพทย์” ซึ่งค้นพบว่าโรคร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นเกิดจากธรรมชาติ ไม่ใช่การลงโทษของพระเจ้า เขาเชื่อว่าวิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การควบคุมด้านโภชนาการและการพักผ่อน นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มการผ่าตัด และการกำหนดหลักจรรยาแพทย์ที่ถือปฏิบัติต่อมาจนถึงปัจจุบัน
6.10 ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์ เอราทอสทินีส (Eratosthenes) ที่เชื่อว่าโลกกลม สามารถคำนวณความยาวรอบโลกได้ และยังค้นพบว่าการขึ้นลงของกระแสน้ำเกิดจากอิทธิพลของดวงจันทร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น