วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์



                 






        การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

            ราชธานีของไทยแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นต่อจากกรุงธนบุรีนั้น มีชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์” หรือ “กรุงเทพมหานคร” ซึ่งมีชื่อเต็มๆ ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์”มีความหมายว่า พระนครแห่งนี้มีพื้นที่อันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ของพระแก้วมรกต และเป็นพระมหานครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะได้ มีความงามอันแสนมั่นคงและเจริญยิ่ง อีกทั้งยังเป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ไปด้วยแก้วเปราะน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก นครแห่งนี้เต็มไปด้วยพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย ซึ่งเป็นวิมานของเหล่าเทพผู้อวตารลงมา อันมีท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษนุกรรมลงมาเนรมิตไว้ให้ กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับกรุงธนบุรีที่เป็นราชธานีเดิม โดยพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์จักรี ก็คือ “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และทโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครแห่งใหม่นี้ขึ้นด้วย โดยรับสั่งให้พิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครแห่งใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที
      หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า กรุงธนบุรีไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีสืบไป ด้วยสาเหตุหลายประการ คือ
๑.      พระราชวังภายในกรุงธนบุรีคับแคบไม่สามารถขยายเขตพระราชวังให้กว้างขวางออกไปได้ เพราะมีวัดขนาบอยู่ ๒ ด้าน คือวัดแจ้งหรือวัดอรุณราชวรารามและวัดท้ายตลาดหรือวัดโมลีโลกยาราม
๒.     กรุงธนบุรีแต่เดิมนั้นมีอาณาเขตข้ามมาถึงฝั่งตะวันออก ติดฟากจังหวัดพระนครบัดนี้ด้วย มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านกลาง มีลักษณะเป็นเมืองอกแตก แบบเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระองค์ประทับสู่พม่ามาแล้ว ทรงเห็นว่าการที่มีแม่น้ำ อยู่กลางเมืองนั้นไม่สะดวกแก่การต่อสู้ข้าศึก ยิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำกว้างด้วยแล้วความไม่สะดวกนั้น ย่อมทวีขึ้น หลายเท่า เพราะทำสะพานข้ามไม่ได้ แม่น้ำลึก คลื่นมาก แม้จะมีเรือข้ามก็ข้ามไม่สะดวก เวลามีข้าศึกมาล้อม พระนคร จะส่งทหารถ่ายเทกันไปช่วยคนละฟากแม่น้ำเป็นการยาก
แผนที่กรุงธนบุรี
๓.     ถ้าหากย้ายพระนครมาตั้งฝั่งตะวันออกฝั่งเดียว จะได้อาศัยแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูพระนคร ด้านเพราะที่ตรงรี้เป็นแหลม ยื่นออกไป คงทำคูเมืองอีก ด้านเท่านั้น ย่อมเป็นการสะดวกแก่การป้องกันพระนครมาก
๔.     ที่ตั้งพระราชวังเดิม(กรมอู่ทหารเรือในปัจจุบัน) เป็นท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งพังลงเรื่อย ไม่เหมาะแก่การจะสร้างพระราชวังให้เป็นการถาวรได้ 
๕.     กรุงธนบุรีเป็นเมืองที่มีการสร้างป้อมปราการเอาไว้ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยเอาแม่น้ำผ่ากลาง (เรียกว่าเมืองอกแตก) เหมือนเมืองพิษณุโลกมีประโยชน์ตรงที่อาจเอกเรือรบไว้ในเมืองเมื่อเวลาถูกข้าศึกมาตั้งประชิดแต่การรักษาเมืองคนข้างในจะถ่ายเทกำลังเข้ารบพุ่งรักษาหน้าที่ได้ไม่ทันท่วงทีเพราะต้องข้ามแม่น้ำ แต่แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งกว้างและลึกจะทำสะพานข้ามก็ไม่ได้ ทำให้ยากแก่การรักษาพระนครเวลาข้าศึกบุก
เหตุผลของการเลือกทำเลที่ตั้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
     1. ทางฝั่งกรุงเทพฯเป็นที่ชัยภูมิเหมาะสมเพราะเป็นหัวแหลมถ้าสร้างเมืองแต่เพียง ฟากเดียว จะได้แม่น้ำใหญ่เป็นคูเมืองทั้งด้าน ตะวันตกและด้านใต้ เพียงแต่ขุดคลองเป็นคูเมืองแต่ด้านเหนือและด้านตะวันออกเท่านั้น ถึงแม้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีก็พอต่อสู้ได้ 
     2. เนื่องด้วยทางฝั่งตะวันออกนี้ พื้นที่นอกคูเมืองเดิมเป็นพื้นที่ลุ่มที่เกิดจากการตื้นเขินของทะเล ข้าศึกจะยกทัพมาทางนี้คงทำได้ยาก ฉะนั้นการป้องกันพระนครจะได้มุ่งป้องกันเพียง ฝั่งตะวันตกแต่เพียงด้านเดียว 

    3. ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ใหม่ สันนิษฐานว่าชุมชนใหญ่ในขณะนั้นคงจะมีแต่ชาวจีนที่เกาะกลุ่มกันอยู่จึงสามารถขยายออกไปได้อย่างกว้างขวาง และขยายเมืองได้เรื่อยๆ
 
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชกาลที่ ๑รัชกาลที่ ๓ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยมีความคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาและธนบุรี  ดังนี้
การปกครอง
การดำเนินการด้านการปกครอง 
     ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้ในการปกครองประเทศนั้น ทรงเอาแบบอย่างซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มีอัครมหาเสนาบดี ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม และ สมุหนายก ตำแหน่งสมุหนายก มีเสนาบดี ตำแหน่ง ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงที่แตกต่างออกไปคือ ทรงแบ่งการปกครองพระราชอาณาเขตออกเป็น ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนกลาง  การปกครองส่วนหัวเมือง และการปกครองเมืองประเทศราช 
การปกครองส่วนกลาง 
   สมุหพระกลาโหม มียศและพระราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งมีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งด้านการทหารและพลเรือน
สมุหนายก มียศและพระราชทินนามไม่ทรงกำหนดแน่นอน ที่ใช้อยู่ได้แก่ เจ้าพระยาจักรี  บดินทร์เดชานุชิต  รัตนาพิพิธ ฯลฯ  ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งด้านการทหารและพลเรือน
        จตุสดมภ์ มีดังนี้
1. กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดี คือ เจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
2. กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
3. กรมคลัง หรือ กรมท่า ใช้ตราบัวแก้ว เป็นตราประจำตำแหน่งมีเสนาบดีดำรงตำแหน่งตามหน้าที่รับผิดชอบคือ
ฝ่ายการเงิน ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาราชภักดี
ฝ่ายการต่างประเทศ ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาศรีพิพัฒน์
ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาพระคลัง
4. กรมนา เสนาบดีมีตำแหน่ง พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษีข้าว และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับที่นา

การปกครองหัวเมือง
 คือ การบริหารราชการแผ่นดินในหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก

     หัวเมืองชั้นใน
  (เดิมเรียกว่า เมืองลูกหลวง หรือ เมืองหน้าด่าน) ได้แก่ หัวเมืองที่กระจายอยู่รายล้อมเมืองหลวง ถือเป็นเมืองบริวารของเมืองหลวง ไม่มีศักดิ์เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มี เจ้าเมือง มีเพียง ผู้รั้ง (ซึ่งไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง จะต้องฟังคำสั่งจากเมืองหลวง)
     หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองทั้งปวง(นอกจากเมืองหลวง เมืองชั้นใน และเมืองประเทศราช)
เมืองเหล่านี้จัดแบ่งระดับเป็นเมืองชั้น เอก โท ตรี ตามขนาด จำนวนพลเมืองและความสำคัญ แต่ละเมืองยังอาจมีเมืองเล็กๆ(เมืองจัตวา) อยู่ใต้สังกัดได้อีกด้วย เจ้าเมืองของเมืองเหล่านี้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการและนโยบายของ
รัฐบาลที่เมืองหลวง ตามเขตการรับผิดชอบคือ
     หัวเมืองเหนือและอีสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก
     หัวเมืองใต้ (ตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไป) อยู่ในความรับผิดชอบของ สมุหพระกลาโหม
     หัวเมืองชายทะเลตะวันออก (นนทบุรี  สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สาครบุรี ชลบุรี 
     บางละมุง  ระยอง  จันทบุรี  และตราด) อยู่ในความรับผิดชอบของ เสนาบดีกรมพระคลัง
     คือ พระยาพระคลัง
การแต่งตั้งเจ้าเมือง             
     เมืองเอก ได้แก่ เมืองพิษณุโลก  นครราชสีมา  นครศรีธรรมราช  ถลาง และสงขลา  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเอง
     เมืองโท  ตรี และจัตวา  เสนาบดีผู้รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้ง
การปกครองเมืองประเทศราช 
เมืองประเทศราชของไทยได้แก่ 
1. ล้านนาไทย (เชียงใหม่  ลำพูน  ลำปาง  เชียงแสน)
2. ลาว (หลวงพระบาง  เวียงจันทน์  จำปาศักดิ์)
3. เขมร
4. หัวเมืองมลายู (ปัตตานี  ไทรบุรี  กลันตัน  ตรังกานู)
เมืองประเทศเหล่านี้มีเจ้าเมืองเดิมเป็นผู้ปกครอง  แต่มีความผูกพันต่อราชธานี คือ การส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ตามกำหนดเวลา และช่วยราชการทหารตามแต่กรุงเทพฯ หรือ ราชธานี จะมีใบบอกแจ้งไป ภารกิจของราชธานี (กรุงเทพฯ) คือ ปกป้องดูแลมิให้ข้าศึกศัตรูโจมตีเมืองประเทศราช
การชำระแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย

พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการปกครองที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้ดำเนินการนอกเหนือไปจากการปรับปรุงแก้ไขระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ การรวบรวมและชำระกฎหมายเก่า ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อได้ชำระเรียบร้อยแล้วโปรดเหล้าฯให้อาลักษณ์คัดลอกไว้เป็น ฉบับ ทุกฉบับประทับ
ตราคชสีห์  ตราราชสีห์ และตราบัวแก้ว  ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหพระกลาโหม  สมุหนายกและพระยาพระคลัง ตามลำดับ เสนาบดีทั้งสามเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการปกครอง ดูแลหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร กฎหมายฉบับนี้จึงมีชื่อเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1  ได้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฎหมายและการศาลตามแบบสากล
เศรษฐกิจ
สภาพทางเศรษฐกิจสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงยึดแบบแผนที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีเป็นหลัก ซึ่งพอจะประมวลองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ ประการคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า  ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ  ระบบเงินตรา
1. หน่วยงานที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ
1.1 พระคลังสินค้า เป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับการค้าขาย ทำหน้าที่ควบคุมสินค้าขาเข้าและขาออก ตลอดจนการเลือกซื้อสินค้าที่ทางราชการต้องการ หรือสินค้าผูกขาด (สินค้าที่ทางราชการต้องการและคิดว่ามีอันตรายหากพ่อค้าจะทำการซื้อขายกันโดยตรง) ได้แก่ อาวุธ กระสุนปืน  และควบคุมกำหนดสินค้าต้องห้าม (คือสินค้าที่หายากและมีราคาแพง ราษฎรต้องนำมาขายให้แก่ทางราชการ) ได้แก่ งาช้าง รังนก ฝาง กฤษณา  พระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานการค้าแบบผูกขาด จึงได้ผลกำไรมาก แต่เมื่อไทยมีการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตก พ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้รับความสะดวกภายหลังหน่วยงานนี้ถูกยกเลิกไปภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง
1.2 กรมท่า เป็นกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับพ่อค้าต่างชาติ เพราะกรมนี้มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล จึงเป็นกรมที่กว้างขวางและคุ้นเคยกับชาวต่างชาติ ปัจจุบันกรมนี้คือกระทรวงการต่างประเทศ
 1.3 เจ้าภาษีนายอากร ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บภาษีใหม่ คือรัฐบาลจะเรียกเก็บภาษีอากรเฉพาะที่สำคัญๆ เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็จะประมูลให้เอกชนรับเหมาผูกขาดในการดำเนินการเรียกเก็บจากราษฎร ผู้ที่ประมูลได้เรียกว่า "เจ้าภาษีหรือนายอากร" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนเกือบทั้งหมดตามหัวเมือง ราษฎรจะเรียกว่า กรมการจีน
ระบบเจ้าเจ้าภาษีนายอากรนี้มีทั้งผลดีและผลเสียต่อชาติดังนี้
ผลดี  ช่วยประหยัดในการลงทุนดำเนินการ ทำให้ท้องพระคลังมีจำนวนภาษีที่แน่นอนไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการเรียกเก็บ
ผลเสีย  เจ้าภาษีนายอากรบางคนคิดหากำไรในทางมิชอบ มีการรั่วไหลมักใช้อำนาจข่มขู่ราษฎรเรียกเก็บเงินตามพิกัด
2. ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ
2.1 การเกษตร มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของชาวไทยตลอดเวลา มีกรมนารับผิดชอบ รายได้ของแผ่นดินส่วนใหญ่รับจากภาษีอากรด้านการเกษตร เช่น อากรค่านา อากรสมพัตสร (เก็บจากไม้ล้มลุกแต่ไม่ใช่ข้าว) และมีการเดินสวน เดินนา
2.2 การค้าขาย การค้าจะทำโดยพระคลังสินค้าและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ สินค้าที่มีการซื้อขายระหว่างพระคลังกับพ่อค้ามี 2 ประเภทคือ สินค้าผูกขาดกับสินค้าต้องห้าม และได้มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นของทางราชการ เช่นค้าขายกับจีน อินเดียและพวกอาหรับ ในสมัยรัชกาลที่ 2 การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้น เพราะพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3 ต่อมา) ทรงเป็นหัวแรงสำคัญจนได้รับสมญาว่า "เจ้าสัว" และมีการค้าขายกับทางตะวันตก เช่น โปรตุเกส อังกฤษ อเมริกา ฮอลันดา สมัยรัชกาลที่ การค้าขายสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ
2.3 ภาษีอากร ภาษีอากรที่เรียกเก็บ มี 4 ประเภทคือ
จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านที่เก็บจากเรือ เกวียน หรือเครื่องบรรทุกอื่นที่ผ่านด่าน
อากร คือ ภาษีที่เก็บจากราษฎรซึ่งประกอบอาชีพที่มิใช่การค้า ซึ่งปกติจะเรียกอากรตามอาชีพที่ทำ เช่น อากรค่านา อากรสุรา
ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากค่าบริการที่ทางราชการทำให้แก่ราษฎร เช่น ออกโฉนด ค่าธรรมเนียมศาล
ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงผู้ที่ไม่ต้องเข้าเวรส่งมอบแทนการเข้าประจำการ
3. ระบบเงินตรา
เงินพดด้วง (รูปสัณฐานกลมเป็นก้อนแต่ตีปลาย 2 ข้างงอเข้าหากัน)
เงินปลีกย่อย ใช้เบี้ยและหอยเหมือนสุโขทัยและอยุธยา
การศึกษา
ระบบการศึกษาในสมัยนี้ยังคงคล้ายสมัยกรุงศรีอยุธยา คือมีวัดและวังเป็นสถาบันทางการศึกษา  ที่วัดผู้ที่จะเข้าศึกษาจะต้องบวชเป็นพระ ซึ่งเราเรียกว่า บวชเรียน การสอนใช้พระและราชบัณฑิตสอนวิชาสามัญ ส่วนวิชาอื่นๆ เช่นช่างต่างๆ จะมีเรียนกันแต่ในครัวเรือนและวงศ์ตระกูล เช่น ช่างทอง ช่างหล่อ
สำหรับหญิงมีการศึกษาจากบุคคลในครัวเรือน วิชาที่เรียนจะเป็นพวกเย็บปักถักร้อย การบ้าน การเรือน การเรียนหนังสือจะมีบ้างถ้ารักที่จะเรียนแต่ก็ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เด็กหญิงชาวพระนครบิดามารดามักส่งเข้ามาอยู่ในวัง โดยอยู่ในตำหนักเจ้านายหรือญาติ เพื่อเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี มารยาท การครองตน ต่อมาได้เริ่มพัฒนาระบบการศึกษาแบบใหม่มากขึ้น เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฏ (รัชกาลที่ 4) ผนวชที่วัดบวรนิเวศ โปรดให้คณะสอนศาสนาคริสต์   มิชชันรี มาถวายความรู้   เช่นบาดหลวงปัลเลอร์กัว สอนภาษาละติน แหม่มเฮาส์ หมอบรัดเลย์สอนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะหมอบรัดเลย์ได้เข้ามาสอนหนังสือให้เด็กไทย จีน  แจกยาและรักษาผู้ป่วยไข้ ได้ยำวิธีการปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษมาเมืองไทย และต่อมาได้ทำเครื่องพิมพ์มาพิมพ์หนังสือ ได้จัดพิมพ์หนังสือประถม ก. กา ออกจำหน่าย และในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ได้มีการรวบรวมความรู้ต่างๆ ทั้งวรรณคดี โบราณคดี และตำรายา จารึกไว้ตามผนังวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) จนมีผู้กล่าวว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งรัชกาลที่ 3
สภาพสังคม
มีโครงสร้างคล้ายอยุธยาและธนบุรี แบ่งเป็น
   - เจ้านายชั้นสูง(กษัตริย์)
                   - ขุนนางและข้าราชการต่างๆ 
                   - ไพร่และสามัญชน 
                   - ทาส
การศาสนา
สมัยรัชกาลที่ 1
โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกแล้วจารึกลงเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง ปิดทองทั้งปกหน้าปกหลังและกรอบ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวงหรือฉบับทองหรือทองใหญ่
สร้างและปฏิสังขรณ์วัด เช่น วัดพระแก้ว ปฏิสังขรวัดโพธาราม และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส"
อัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากวัดมหาธาตุสุโขทัยมาประดิษฐานที่วัดสุทัศน์วราราม และอัญเชิญพระพุทธสิหิงห์จากเชียงใหม่มาประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทธไธสวรรค์
สมัยรัชกาลที่ 2
ปฏิสังขรณ์วัดแจ้งแล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม
-แต่งตั้งสมณทูตไปสืบศาสนาที่ลังกา รูป เมื่อคณะพระสมณทูตกลับมา ได้นำต้นโพธิ์มา 6 ต้น
แก้ไขปรับปรุงบทสวดมนต์
เนื่องจากมีอหิวาตกโรคระบาดในสมัยนี้ผู้คนล้มตายมาก จึงโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอาพาธพินาศ มีการยิงปืนใหญ่ขับไล่ความอัปมงคล อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมสาริกธาตุออกแห่ นิมนต์พระภิกษุประพรมน้ำพระพุทธมนต์ไปตามทาง ชักชวนให้ประชาชนสวดมนต์ภาวนาอยู่ในบ้าน ศพผู้ตายให้จัดการเผา
สมัยรัชกาลที่ 3
ให้ตรวจสอบพระไตรปิฎกทั้งจากลังกาและมอญ แล้วให้จารึกอย่างสวยงามได้รับยกย่องว่าเป็นพระไตรปิฎกที่สวยงามและถูกต้องมากที่สุด
ให้สำรวจความประพฤติของสงฆ์ให้อยู่ในพระวินัย
ตั้งธรรมยุตินิกาย โดยพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดมหาธาตุ ทรงสนใจศึกษาพระไตรปิฎก ทรงเห็นว่าพระสงฆ์สมัยนั้นไม่เคร่งครัดพระธรรมวินัย จึงต้องทำการสังคายนาใหม่ พระองค์ได้ทรงพบพระภิกษุรามัญรูปหนึ่งชื่อ ซาย เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมากจึงทรงยึดถือเป็นแบบอย่างและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ข้อปฏิบัติของพระองค์จึงผิดไปจากพระสงฆ์รูปอื่นๆ การห่มผ้าก็เป็นแบบรามัญ พระองค์ได้ย้ายที่ประทับมาอยู่วัดสมอราย (ราชาธิวาส) ทรงให้นามคณะสงฆ์ของพระองค์ว่า คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ส่วนคณะสงฆ์เดิมเรียกว่า คณะสงฆ์มหานิกาย
สังคมวัฒนธรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
              สภาพสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น              
               สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรีลักษณะโครงสร้างของสังคมไทยสมัยนี้  มีการแบ่งชนชั้น ถึงแม้จะไม่มีการแบ่งวรรณะอย่างอินเดีย แต่ฐานะความเป็นอยู่ของผู้คนก็แตกต่างกัน
องค์ประกอบของสังคมไทยแบ่งเป็น 4 ชนชั้น
1. เจ้านาย  ได้แก่ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา
                    
     2. ขุนนางและข้าราชการ
                    

3. ไพร่  เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก แบ่งเป็น ไพร่หลวง และไพร่สม

      
4. ทาส   ชนชั้นต่ำสุดในสังคมไทย ไม่มีอิสระในการดำเนินชีวิต ชีวิตขึ้นอยู่กับนายทาส แบ่งเป็น ทาสเชลย  ทาสในเรือนเบี้ย  ทาสสินไถ่  ทาสได้มาแต่บิดามารดา  ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย  ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑ์โทษ และทาสท่านให้  ทาสที่ทำความดีความชอบต่อบ้านเมืองสามารถเลื่อนฐานะตนเองสูงขึ้นเป็นขุนนางได้ ส่วนขุนนางที่ทำผิดก็สามารถลดฐานะลงเป็นทาสได้เช่น

ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
     สภาพทางสังคมของไทยตั้งแต่อดีต ได้ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมจึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนาด้วย ศิลปกรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บรรจงสร้างด้วยความประณีตก็เกิดจากแรงศรัทธาทางศาสนาทั้งสิ้น
     1. การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนา
          ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ใน พ.ศ.2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ เดือนและพระองค์ทรงประกาศเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ว่า ....ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนาและมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมพระสงฆ์ที่ปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย
          ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา เหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด
          ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย ในสมัยนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้มีโอกาสเผยแผ่ในประเทศไทยโดยพวกมิชชันนารี ทำให้คนไทยบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันในวงการพระพุทธศาสนาของไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปข้อวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทยให้สอดคล้องกับคำสอนในพระไตรปิฏก โดยพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4  ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ และได้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาส  วัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2370-2394) ทรงเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปครั้งนั้น จนกระทั่งได้ทรงตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า "ธรรมยุตินิกาย"
     2. การทำนุบำรุงศิลปกรรม/ขนบธรรมเนียมประเพณี
          การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1  ทรงให้ความสนพระทัยมากนั้น ได้แก่ บรรดาตึกรามต่างๆ ที่สร้างขึ้น ล้วนมีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงามทั้งภายในและภายนอก ทั้งโดยปูนและโดยไม้แกะสลัก ตึกที่ทรงให้จัดสร้างขึ้นส่วนมากเป็นวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (มีการจารึกตำราแพทย์แผนโบราณ ยาแก้โรค  ตำราหมอนวด กวีนิพนธ์ ไว้ตามเสาและผนังรายรอบบริเวณวัด เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษา จึงถือว่า เป็นวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย) เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยพระที่นั่งไพศาลทักษิณพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นต้น

     รัชกาลที่ 1 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดี ดังนั้นในสมัยนี้จึงมีบทวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ นอกจากนี้ก็มีการแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทย เช่น หนังสือสามก๊ก ,ราชาธิราช เป็นต้น
     รัชกาลที่ 2 ทรงสนพระทัยในเรื่องการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่างๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง "สวนขวา" ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 3) พระปรางค์จะตกแต่งด้วยถ้วยและชามจีนซึ่งทุบให้แตกบ้าง แล้วติดกับฝาทำเป็นลวดลายรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการแกะสลัก ดังจะเห็นได้จากประตูวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น มีการฟื้นฟูประเพณีวิสาขบูชาขึ้นใหม่
    รัชกาลที่ 2 โปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะและท่ารำต่างๆ โดยพระองค์เอง พระองค์โปรดให้มีพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่ หรือเอาเรื่องเดิมมาแต่งขึ้นใหม่ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ มีทั้งหมด เรื่อง เรื่อง"อิเหนา" เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เองตลอดทั้งเรื่อง ส่วนอีก เรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้กวีท่านอื่นๆ ร่วมงานด้วย สมัยนี้จัดเป็นยุคทองของวรรณคดี มีกวีคนสำคัญและมีชื่อเสียง จัดเป็นกวีเอกของโลก คือ สุนทรภู่ สมัยรัชกาลที่ จัดเป็นยุคทองของวรรณคดี
       รัชกาลที่ 3 การผลิตงานทางด้านศิลปะในสมัยรัชกาลที่ จัดว่ามีลักษณะเยี่ยมยอดในวงการศิลปะของไทยไม่แพ้ในสมัยอื่น ในสมัยรัชกาลที่ ทรงมุ่งซ่อมแซมและปรับปรุงปราสาทมากกว่าจะสร้างใหม่ ทรงสร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้น วัด จิตกรเอกที่มีชื่อเสียงและสร้างผลงานดีเด่นในสมัยนี้ ได้แก่  หลวงวิจิตรเจษฎา (ครูทองอยู่) และ
ครูคง (คงแป๊ะ)
การศึกษา
     มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรี ศูนย์กลางการศึกษาอยู่ที่ วัด และวัง
การเรียนหนังสือภาษาไทย
          
     เดิมใช้หนังสือจินดามณี เป็นแบบเรียน ต่อมามีหมอบรัดเลย์  มิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งเข้าในสมัยรัชกาลที่ ได้พิมพ์หนังสือ  ประถม ก กา  ถือว่า หมอบรัดเลย์เป็นผู้นำการศึกษาแบบใหม่ และเป็นผู้นำความเจริญด้านการแพทย์ โดยเฉพาะการรักษาโรคโดยการผ่าตัด เข้ามาในประเทศไทย และในระยะนี้ยังไม่มีโรงเรียน ผู้ที่ต้องการเรียนต้องไปเรียนยังสำนักต่างๆ เช่น สำนักเจ้าพระยาศรีธรรมราช  สำนักพุทธโฆษาจารย์แห่งวัดพุทไธสวรรย์ และ
การเรียนที่สำคัญอีกแบบหนึ่งคือ การศึกษาวิชาชีพตามบรรพบุรุษ เช่น แพทย์  นักกฎหมาย  ครูอาจารย์  ช่างถม  ช่างทอง ช่างปั้น ช่างแกะสลัก  โดยจะอยู่กันเป็นแหล่งๆ เช่น  บ้านหม้อ  บ้านบาตร  บ้านช่างหล่อ  เป็นต้น
สำหรับการศึกษาสมัยใหม่  โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ เริ่มมีปรากฏบ้าง โดยพวกมิชชันนารีซึ่งเข้ามาสอนศาสนาเป็นผู้ดำเนินการ แต่จำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงพระราชวงศ์และขุนนางข้าราชการเท่านั้น
ขนบธรรมเนียมประเพณี 
ขนบธรรมเนียมประเพณีสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยึดตามแบบอยุธยา ที่สำคัญได้แก่
1.             ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ (โกนจุก) พระราชพิธีพระเมรุมาศ (การเผาพระบรมศพ) พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีสมโภชช้างเผือก ฯลฯ 
2.             ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับพราหมณ์ เช่น พิธีการโล้ชิงช้า การสร้างโบสถ์พราหมณ์ ฯลฯ 
3.             ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระราชพิธีอาพาธพินาศ พระราชพิธีพืชมงคล ฯลฯ 
4.             ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับชาวบ้าน เช่น การเล่นเพลงสักวา พิธีการทำขวัญนาค การแต่งงาน การเผาศพ การโกนจุก พิธีตรุษสงกรานต์ สารทไทย ฯลฯ 
5.             ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น พิธีวิสาขบูชา อาสาฬหบูชา มาฆบูชา เข้าพรรษา ออกพรรษา การบวชนาค เทศน์มหาชาติ สมโภชพระแก้วมรกต ฯลฯ
สมัยรัตนโกสินทร์ได้รับการฟื้นฟูหลายพิธี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีสมโภชช้างเผือก พระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกต การเล่นสักวา พระราชพิธีตรียัมปวาย(โล้ชิงช้า) พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตรา ทางสถลมารคและชลมารค พระราชพิธีอาพาธพินาศ พระราชพิธีวันวิสาขบูชา ฯลฯ พระราชพิธีดั้งเดิมเก่าแก่ของไทยนี้แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรือง ความสามัคคีกลมเกลียวของคนในชาติ รวมทั้งความมั่นคงเป็นปึกแผ่นมาช้านานของชาติไทย 
ด้านวรรณกรรม 
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ราชสำนักจัดว่าเป็นศูนย์กลางของวรรณกรรมและเป็นที่ชุมนุมของบรรดากวีทั้งหลาย ซึ่งมีทั้งองค์พระมหากษัตริย์ เจ้านายและบุคคลธรรมดา วรรณคดีที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ ได้แก่ รามเกียรติ์ ราชาธิราช และสามก๊ก ในรัชกาลที่ ทรงนิพนธ์บทละครไว้หลายเรื่อง แต่ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด คือ บทละครเรื่องอิเหนา ส่วนกวีเอกสมัยนี้ คือ สุนทรภู่ ซึ่งมีผลงานชั้นเยี่ยมหลายประเภทด้วยกัน มีทั้งบทละคร เสภา นิราศ บทเห่ และกลอน เช่น เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน นิราศภูเขาทอง กลอนสุภาษิตสอนหญิง ฯลฯ

ด้านศิลปกรรม 
ศิลปะแขนงต่างๆ ได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจังจนกลับเจริญรุ่งเรืองเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา สถาปัตยกรรมที่สร้างอย่างประณีตงดงาม ทรงคุณค่ายิ่งของชาติ ได้แก่ พระราบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม และวัดราชโรสาราม ซึ่งทั้ง วัดหลังนี้เป็นประจำรัชกาลที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ นอกจากนี้แล้วช่างสิบหมู่ยังร่วมกันสร้างผลงานไว้มากมาย เช่น เครื่องราชูปโภคขององค์พระมหากษัตริย์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ และเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์

จิตรกรรม    ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา เช่น การวาดภาพในอาคารที่เป็นพระอุโบสถ หรือพระวิหาร มักจะวาดภาพเทพชุมนุม ตั้งแต่เหนือระดับหน้าต่างขึ้นไปจนถึงเพดาน ส่วนช่วงระหว่างช่องหน้าต่างจะวาดภาพพุทธประวัติ หรือเทศชาติชาดก ผนังด้านหลังพระประธานวาดภาพเรื่องไตรภูมิ และผนังตรงหน้าพระประธานวาดภาพพระพุทธเจ้าตอนมารผจญ เช่น ภาพจิตรกรรมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านตะวันออกและตะวันตกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ฯลฯ ทั้งสองแห่งนี้เป็นงานในรัชกาลที่ 1
    ต่อมาในรัชกาลที่ ไม่มีงานให้เห็นเด่นชัด เนื่องจากการก่อสร้างที่สำคัญมักจะเสร็จในรัชกาลที่ ดังนั้นภาพจิตรกรรมที่ประดับอาคารนั้นๆ มักจะเป็นภาพจิตรกรรมในรัชกาลที่ ทั้งสิ้น มักจะเป็นภาพจิตรกรรมในรัชกาลที่ ทั้งสิ้น ถือได้ว่ารุ่งเรืองที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีอิทธิพลของศิลปะจีนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะการที่มีการติดต่อค้าขายกับจีน ประกอบกับรัชกาลที่ ทรงนิยมด้วย เห็นได้ชัดจากวัดหลวงในรัชกาลนี้ อาคารจะสร้างแบบจีนเป็นส่วนมาก จิตรกรเอกที่มีฝีมือชั้นครูมีผลงานดีเด่นในรัชกาลที่ คือ หลวงวิจิตรเจษฎา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ครูทองอยู่ และครูคง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า คงแป๊ะ ผลงานของทั้งสองท่านนี้ถือว่าเป็นมรดกทางจิตรกรรมที่ล้ำค่าอย่างยิ่ง ภาพจิตรกรรมที่สำคัญในรัชกาลที่ ได้แก่ ภาพจิตกรรมที่พระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดอรุณราชวราราม วัดบางยี่ขัน เป็นต้น
     นาฏศิลป์และดนตรีไทยเจริญที่สุดในสมัยรัชกาลที่ เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกวี เป็นศิลปิน และทรงสนพระทัยงานด้านนี้เป็นพิเศษ การเล่นโขนในรัชกาลนี้ได้ใช้เป็นแบบแผนของชาติสืบต่อมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น